
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร
วัดนี้เป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๙ เพื่อเป็นสถานที่ที่ทรงใช้บำเพ็ญพระราชกุศลในขณะเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับอยู่ ณ พระราชวังบางปะอิน ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเลียนแบบโบสถ์คริสต์ด้วยศิลปะกอทิกหรือโกธิค ประดับด้วยกระจกสีสวยงาม
ด้านหน้าของพระอุโบสถมีเทพทวารบาลประดิษฐานในซุ้มบนเสาซุ้มประตูทางเข้าที่สวยงามและแตกต่างจากวัดหลวงอื่นๆ ในประเทศไทย คือเป็นพระอินทร์ทรงสังข์กับปัญจสิงขรทรงพิญตามแบบรูปนักบุญของทางโบสถ์คริสต์ ซึ่งแต่เดิมนั้นพระอินทร์และปัญจสิงขรเป็นงานปูนปั้น นานไปเกิดการชำรุดลง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมารกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้รับสั่งจัดการหล่อองค์ขึ้นใหม่
“พระพุทธนฤมลธรรโมภาส” พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปแบบกะไหล่ทองปางสมาธิขนาดหน้าตัก ๒๒.๕ นิ้ว สูง ๓๖.๕ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าชายดิศดวงจักร) อธิบดีกรมช่างสิบหมู่และเคยปั้นหล่อพระสยามเทวาธิราชเป็นผู้มาหล่อไว้ ในวันพฤหัสบดี แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู จุลศักราช ๑๓๒๙ (ตรงกับวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๐)

ประวัติเล่าว่า หลังจากพระองค์เจ้าประดิษฐวรการได้สร้าง พระพุทธนฤมลธรรโมภาสเสร็จ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรแล้ว พระองค์ทรงชื่นชมในพุทธลักษณะที่งดงามของพระพุทธนฤมลธรรโมภาสองค์นี้มาก แล้วได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จะให้ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ซึ่งมีขนาดเท่ากับ พระพุทธนฤมลธรรโมภาส ขึ้นอีกองค์หนึ่ง แต่พระองค์เจ้าประดิษฐวรการได้กราบบังคมทูลว่า พระองค์ได้ทุ่มเทสร้างพระพุทธองค์นี้สุดฝีมือพุทธลักษณะที่สวยงามเอกอุไปแล้ว ไม่สามารถสร้างพระพุทธรูปใหม่ให้เสมอเหมือนได้อีก การสร้างพระพุทธรูปใหม่อีกองค์จึงยุติไป
แล้วอัญเชิญมาที่นี่เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ปีขาล (ตรงกับวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๑) โดยมีการตั้งขบวนแห่แต่วัดเชิงเลนด้วยเรือพระที่นั่งชัยสุวรรณหงส์
มีการอัญเชิญพระไตรปิฎกลงเรือเอกชัยหลังคาสีลำหนึ่ง อัญเชิญพระมหาสาวกลงเรือเอกชัยหลังคาสีอีกลำหนึ่ง แห่ขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยามาจอดที่สะพานฉนวนเพื่อขึ้นฝั่ง แล้วตั้งขบวนแห่ทางบกขึ้นยานมาส พระไตรปิฎกขึ้นเสลี่ยงแปลงและรูปมหาสาวกขึ้นเสลี่ยงโถง พร้อมเครื่องสูงกลองชนะคู่ มาประดิษฐานบนซุ้มฐานชุกชีของวัดไทยทั่วไป คือเป็นซุ้มแบบตะวันตก (ตามพระราชนิยมในรัชกาลที่ ๕) ที่มีอัครสาวกยืนสักการะพระประธานอยู่ทางด้านซ้าย-ขวา พระประทานและพระสาวกประดิษฐานที่กำแพงรอบภายในพระอุโบสถ ส่วนทางด้านล่างจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธนิรันตราย

“พระพุทธเจ้าผู้เปี่ยมด้วยแสง (โอภาส) แห่งธรรม (ธรรม) อันปราศจากมลทิน (นฤมล)” นี้ ถ้าใครได้กราบขอพรแล้วย่อมได้รับพลังที่จะขจัดภยันตราย สิ่งเลวร้ายทั้งมวลออกไปจากกาย และจะได้รับพลังที่ดีแห่งแสงธรรมมาคุ้มครอง
จากภายในพระอุโบสถหันมองตรงเหนือซุ้มประตูทางเข้า จะพบภาพประดิษฐ์กระจกสีที่เป็นรูปพระบรมสาทิศลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประดิษฐานอยู่เหนือซุ้มประตูทางเข้า
ด้านล่างของฐานชุกชีขวามือของพระประธานเป็นที่ประดิษฐานพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐินที่วัดนี้
ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางขอฝน ในพระอิริยาบถยืน ทรงผ้าวัสสิกสาฎกหรือผ้าอาบน้ำฝน ประดิษฐานในซุ้มทรงยุโรป (ตรงข้ามกับหอพระคันธารราษฎร์) กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นกำลังใจแก่ชาวบางปะอิน (ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาทำไร่) เพื่อเกิดความเป็นสิริมงคลและความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นถ้าท่านผู้อ่านอยากให้ชีวิตอุดมสมบูรณ์ไปด้วยโภคทรัพย์แล้ว
และยังมีพระพุทธรูปศิลาเก่าแก่ปางนาคปรกสมัยลพบุรีฝีมือช่างขอมที่มีอายุกว่าพันปี (ติดกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ทรงปลูกไว้เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๐) ที่ประดิษฐานอยู่ในซุ้มทรงยุโรป ให้สักการะ
วัดนิเวศธรรมประวัตินี้ยังมีสิ่งสำคัญและงดงามอีกมากเกินพรรณนาได้หมด ผู้เขียนจะมาไหว้พระที่วัดนิเวศธรรมประวัติฯ นี้เป็นวัดแรกเกือบทุกครั้งที่มาทัวร์วัดอยุธยา ด้วยมีความเชื่อส่วนตัวว่าที่แห่งนี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีพลังดีสูงมาก ดีในทุกเรื่อง ต้องไปทำการกราบไหว้ขอพรประเดิมชัยก่อนทุกครา
เลขเด็ด หวยฟรี ไม่เสียเงิน หวยดัง ทั่วทุกสำนักดังของเมืองไทย ติดตามได้ที่นี่ หวยเฮียรุ่ง