
ความรู้ประวัติศาสตร์ พิธีแต่งงาน สมัยโบราณ “พิธีซัดน้ำ” คู่บ่าว-สาว
“พิธีซัดน้ำ” ความเชื่อหนึ่งในการแต่งงานสมัยโบราณคือ บ่าวสาวต้องมีการผ่าน พิธีซัดน้ำ ที่จะทำให้ชีวิตคู่พบความสงบร่มเย็น แต่ในปัจจุบันพิธีนี้ได้หายไปแล้ว ซึ่งจะขอนำกลับมาเล่าให้ฟังว่า พิธีซัดน้ำ ที่ว่านี้เขาทำกันยังไงและทำไปเพื่ออะไรกัน
พิธีซัดน้ำ คือพิธีต้นแบบของการรดน้ำสังข์ในปัจจุบันมีเป้าหมายก็เพื่อความเป็นสิริมงคลของครอบครัวใหม่และให้บ่าวสาวครองเรือนคู่กันไปอย่างร่มเย็นเป็นสุขจนถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร แถมยังเป็นโอกาสอันดีงามให้หนุ่มสาวยุคต้นรัตนโกสินทร์ได้มาสีไหล่กันแบบที่นานๆ ทีจะมีโอกาส ซึ่งในพิธีซัดน้ำนั้นผู้ที่จะทำการซัดน้ำใส่บ่าวสาวคือพระสงฆ์ไม่ใช่ญาติผู้ใหญ่เหมือนในพิธีรดน้ำสังข์นะคะ

ซึ่งพิธีซัดน้ำในอดีตนั้น คนโบราณว่ากันอีกอย่างหนึ่งว่า ทำก็เพื่อให้บ่าวสาวได้ชำระล้างตนเองให้สะอาดก่อนเข้าพิธีแต่งงานในวันรุ่งขึ้น ซึ่งน้ำที่ว่าก็คือน้ำมนต์ที่ช่วยกำจัดสิ่งไม่ดีให้ออกไปจากตัวบ่าวสาว เพราะฉะนั้นการซัดน้ำจึงเป็นแค่การเริ่มต้นการเข้าพิธีแต่งงานของบ่าวสาวเท่านั้น ไม่ใช่ทำขึ้นในวันเดียวกันเหมือนอย่างการรดน้ำสังข์ในปัจจุบันนั่นเอง

ซึ่งต่อมาพิธีซัดน้ำได้เปลี่ยนมาเป็นพิธีรดน้ำพระพุทธมนต์แทนเนื่องจากการซัดน้ำนั้นค่อนข้างยุ่งยากและเปรอะเปื้อน ซึ่งในช่วงแรกนั้นเป็นการรดน้ำที่ศีรษะแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็อีกนั่นแหละ พอเจ้าสาวแต่งหน้าแต่งตาจัดเต็มเมื่อเครื่องสำอางโดนน้ำก็ย่อมไหลย้อยเป็นคราบลงมา แถมผมที่อุตสาห์บรรจงจัดแต่งก็พาลจะเสียทรงเอาง่ายๆ
จึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการรดน้ำสังข์ที่มือแทน และใช้วิธีนี้มาจนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อเสร็จพิธีซัดน้ำ บ่าวสาวต่างแยกกันคนละห้องไปผลัดผ้า เปลี่ยนชุด ส่วนผ้าที่เปียกก็จะให้เด็กน้อยแถวนั้นนำไปซัก ไปตากให้เรียบร้อย และมักจะแอบซ่อนเครื่องประดับมีค่าชิ้นเล็กๆ ไว้ในผ้าเปียก เพื่อเป็นรางวัลให้แก่เด็กน้อยที่ซักผ้าให้นั่นเอง
เว็บพนันออนไลน์ พนันบอลออนไลน์ แทงบอลออนไลน์ ที่ดีที่สุด ราคาดีที่สุด มั่นคงที่สุด
คาสิโนออนไลน์ พนันกีฬา มวย หวย ไพ่ ไก่ชน สมัครผ่านทางไลน์ id Line : CASATHAI
