
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้โชค บน ไหว้ ขอพร เห็นผลทันใจ
เปิดตำนานอาถรรพ์คำชะโนด วังเวียง “พญานาคราช” ศรีสุทโธ
จะบูชาสิ่งใดก็ตาม จะต้องทำให้ถูกวิธี จึงจะศักดิ์สิทธิ์และได้สิ่งที่ขอสมปรารถนา ไม่ใช่เข้าไปนั่งกราบและขอเลย ถ้าเช่นนี้คงสำเร็จดังที่ขอ เชื่อว่าหลายคนที่ไม่รู้คงทำเช่นกัน พอไม่ได้ดังที่ขอก็ไปโทษท่าน กล่าวหาท่าน เทพทุกตนย่อมมีคาถาบูชาพร้อมเครื่องไหว้ด้วย
เครื่องบูชา มีดังนี้
จุดธูป ๙ ดอก หรือ ๗ ดอก ก็ได้ พวงมาลัยหรือดอกบัวสีแดง น้ำเปล่า ๑ แก้ว หรือใช้อ่างดินแบบจัดสวนก็ได้
คาถาบูชา
คงเป็นภาษาเทพหรือเปล่าไม่รู้นะ
โอม นาคี นาโคนอ ตอลีวี ตา เด บัน ไต เค ลา นา มัก ไต เอ็ม พา ชาน กอ เตี๊ย ฮู มู ซอ ตัน มา เฮ กู ดัม บา โฮ โซ คัม คัม นา ได บันยัง
อีกบทหนึ่งที่ใช้กัน
ท่องนะโม (๓ จบ) แล้วท่องคาถาบูชาว่า
กายะ วาจา จิตตัง อะหังวันทา
นาคาธิบดี ศรีสุทโธ วิสุทธิเทวา ปูเชมิ (ท่อง ๓ จบ)

ต้องการให้ท่านเมตตาช่วยเหลือสิ่งใดก็ตั้งจิตอธิษฐานเอา อย่าไปขออะไรมากมาย ขอเพียงอย่างเดียวก็พออย่าโลภ คนโลภจะไม่สำเร็จผลดังปรารถนา
“พญานาคกับมนุษย์ดูจะมีตำนานความผูกพันกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล กาลครั้งหนึ่งมีพญานาคตนหนึ่ง มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งนัก ตามพุทธบัญญัติเดรัชฉานบวชเป็นพระในพระพุทธศาสนาไม่ได้ จึงได้ปลอมตัวเป็นชายหนุ่มมาขอบวชเป็นพระในวัดแห่งหนึ่ง ต่อมาภายหลังถูกจับได้ขณะกลายร่างกลับสู่สภาพเดิม (พญานาค) จึงได้จับสึกให้คืนสภาพความเป็นเดรัจฉานเช่นเดิม”
“แต่ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า จึงขอความเมตตาคงไว้ ก่อนบวชเป็นพระในผ้าเหลือง ขอให้มีการบวชนาคก่อนได้ไหม พระพุทธเจ้าเห็นมีจิตศรัทธาแรงกล้าจึงได้อนุโลมตามคำขอสืบสานกันมาจนทุกวันนี้”
“เมื่อตำนานในพระพุทธศาสนาเป็นเช่นนี้ จึงเชื่อว่าพญานาคมีจริง และสามารถแปลงกายให้เป็นอะไรก็ได้ตามแต่จะให้เป็นไป จึงไม่แปลกใจเลยที่ “คำชะโนด” จังหวัดอุดรธานี เป็นอีกตำนานหนึ่ง เล่าลือกันมานานว่า ใต้ป่าคำชะโนดนั้นเป็นวังพญานาคราชชื่อ “ศรีสุทโธ” ”
“บ้างก็ลือว่ามีชายหนุ่มแปลกหน้าไปจ้างหนังกลางแปลงที่จังหวัดอุดรธานี ไปฉายที่คำชะโนดให้ผีดู สมัยก่อนนั้นป่าคำชะโนดรกเรื้อไปด้วยเถาวัลย์และป่าหนาม ถนนหนทางเข้าไปไม่มี รถฉายหนังจะเข้าไปได้อย่างไร? ”
“คำเล่าลือของชาวบ้านมันคาใจผู้เขียนมาเป็นเวลานาน ยิ่งเห็นผู้คนแห่กันไปกราบไหว้ขอโน่นขอนี่จากพญานาคราชศรีสุทโธที่ป่าคำชะโนดมากขึ้นทุกๆ วัน เป็นพันเป็นหมื่นคนต่อวัน พวกเขาได้อะไร? ทำไมจึงแห่ไปกันมากมายขนาดนี้ ต้องค้นคว้าหาความจริงที่มาของคำร่ำลือเหล่านั้น มีความจริงแค่ไหนอย่างไร?”
“แล้วในที่สุดผู้เขียนก็ได้พบกับคำตอบที่น่าจะมีความเป็นไปได้ จากหลักฐานต่างๆ ที่ยังมีร่องรอยให้ค้นหา ความจริงชัดเจน ปรากฏเป็นรูปธรรม จนผู้เขียนต้องเปลี่ยนจากความไม่เชื่อคำเล่าลือของชาวบ้าน เมื่อได้เจอหลักฐานที่น่าเชื่อถือ”